รูปแบบของการรับ (DEFENSIVE PATTERNS)

121809_RBGirlsBball_2_t_w600_h3000

การเล่นทีมฝ่ายรับ  ในกีฬาบาสเกตบอลก็เหมือนกับการเล่นทีมฝ่ายรับในกีฬาประเภทอื่น ๆ  ที่ต้องการผู้เล่นที่มีความสามารถในการป้องกันได้ดี  เพราะการป้องกันที่ดีจะนำมาแห่งชัยชนะ

ความมุ่งหมายของการป้องกัน  คือ  ไม่ให้ฝ่ายครอบครองลูกบอลยิงประตูได้  และเวลาเดียวกันก็พยายามแย่งลูกบอลมาเป็นของฝ่ายตนให้ได้ด้วย  สิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับเป็นฝ่ายป้องกันก็คือ  การควบคุมร่างกาย  (body control)  กล่าวคือ  จะต้องมีการทรงตัวที่ถูกต้อง  จึงจะช่วยให้การเคลื่อนไหนไปสู่ทิศทางต่าง ๆ  ได้รวดเร็ว  ความสามารถในการป้องกันของแต่ละบุคคลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก  3  ประการดังนี้

  1.   การยืน  (Stance)
  2.     การเคลื่อนไหวของของเท้า  (footwork)
  3.   ตำแหน่งในการยืน  (position)

 

  1. การยืน  (Stance)  ลักษณะการยืนในการป้องกันที่ถูกต้อง  ควรยืนในลักษณะเท้านำเท้าตาม  (ข้างหนึ่งอยู่หน้า  อีกข้างอยู่หลัง)  เข่าและเอวย่อ  งอเล็กน้อย  ศีรษะตั้ง  สายตาจับมองคู่ต่อสู้และลูกบอล  ให้มือข้างเดียวกับเท้านำยกสูงขึ้นคอยป้องกันและรบกวนในการยิงประตู  ส่วนอีกข้างหนึ่งลดต่ำลงคอยสกัดกั้นในการส่งลูกบอล
  2. การก้าวเท้าในการเคลื่อนไหว  (Footwork)  การก้าวเท้าในการเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันฝ่ายรุกถือเป็นเรื่องสำคัญมาก  เพราะจุดอ่อนของฝ่ายป้องกันที่ทำให้ฝ่ายรุกทำประตูได้  คือ  ไม่สามารถเคลื่อนไหวตามฝ่ายรุกได้ทัน  เป็นเหตุให้เสียพื้นที่และอยู่ในตำแหน่งที่เสียเปรียบกว่า  หลักสำคัญคือจะต้องยืนด้วยปลายเท้าให้ห่างกันประมาณเท่าช่วงไหล่ในลักษณะเท้านำเท้าตาม  ไม่ยืนปักหลัก  และเวลาเคลื่อนไหวอาจใช้วิธีการแบบสืบเท้าไปข้างหน้าหรือก้าวเท้าสลับกันไปก็ได้  แต่โดยปกติแล้วถ้าเป็นการเคลื่อนที่ไปอย่างช้า ๆ  จะเป็นการเคลื่อนที่แบบสืบเท้า  แต่ถ้าเป็นการเคลื่อนที่ที่ต้องการความรวดเร็วมาก ๆ จะเคลื่อนที่โดยวิธีการก้าวเท้าสลับ
  3. ตำแหน่งในการยืน  (Position)  ต้องยืนในตำแหน่งที่สามารถขวางกั้นทางของคู่ต่อสู้  ขณะที่วิ่งเข้ามาเพื่อจะยิงประตูหรือรับลูกบอล  โดยปกติตำแหน่งการยืนของฝ่ายป้องกันจะยืนเป็นแนวตรงและอยู่ระหว่างห่วงประตูกับผู้เล่นฝ่ายรุก  แต่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้

 

ตามรูป  10 – 2  เส้นแสดงถึงตำแหน่งในการยืนของฝ่ายรับ  ที่กำลังป้องกันฝ่ายรุก

 คือ   ฝ่ายรุกกำลังถือลูกบอลอยู่
คือ  ฝ่ายรับที่จะต้องยืนเป็นแนวเดียวกันกับผู้เล่นฝ่ายรุกและห่วงประตู
‚ คือ  ผู้เล่นฝ่ายรุกที่ยังไม่ได้ถือลูกบอล
คือ  ฝ่ายรับที่จะต้องยืนป้องกันให้เยื้องมาทางผู้เล่นฝ่ายรุกที่กำลังถือลูกบอลอยู่เล็กน้อย  เพื่อปิดทางในการส่งลูกบอล  และยังเป็นการสกัดกั้นไม่ให้วิ่งตัดเข้าในได้สะดวกอีกด้วย

 

หลักปฏิบัติของตำแหน่งในการยืนป้องกัน  สรุปได้ดังนี้

  1. การยืนป้องกันคนที่ถือลูกบอล  (Guarding the man with the ball)  จะต้องยืนอยู่ในตำแหน่งที่สามารถบีบบังคับให้คู่ต่อสู้เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ไม่ถนัด  หรือในพื้นที่แคบ  หรือไปหาเพื่อนของเรา  และจะต้องป้องกันอย่างรัดกุมที่สุด  ผู้ถือลูกบอล  ผู้ป้องกันและห่วงประตูควรเป็นเส้นตรงเดียวกัน
  2. การยืนป้องกันคนที่ไม่ถือลูกบอล  (Guarding the man without the ball)  ผู้ป้องกันจะต้องระวังการผละถอยไปรับลูกบอลของฝ่ายรุก  และจะต้องยืนอยู่ในลักษณะรูปสามเหลี่ยมเสมอ

 

รูปแบบของการป้องกัน  (Defensive Formations)

รูปแบบของการป้องกันพื้นฐานจำแนกออกได้เป็น  2  แบบ  คือ

  1. การป้องกันแบบคนต่อคน  (Player – to – Player)
  2. การป้องกันแบบตั้งป้อมรับหรือเป็นเขต  (Zone Defense)

จากรูปแบบของการป้องกันพื้นฐานข้างต้น  ยังสามารถพลิกแพลงออกไปได้อีก  2  แบบ  คือ

  1. การป้องกันแบบผสม  (Combination Defenses)
  2. การป้องกันแบบบีบคั้นหรือบีบบังคับ  (Pressing Defenses)

ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียด  ดังนี้

 

  1. การป้องกันแบบคนต่อคน  (Player – to – Player)

การป้องกันแบบนี้เป็นแบบที่ใช้ป้องกันมากที่สุด  คือร้อยละ  75  ของทีมบาสเกตบอลทั้งหลาย  ครูหรือผู้ฝึกควรดำเนินการสอนให้แก่ผู้เล่นก่อนการสอนแบบป้องกันอื่น ๆ  เพราะจากการสังเกตและติดตามผลของผู้ฝึกหลายท่านพบว่า  เมื่อผู้เล่นได้เรียนรู้และฝึกถึงวิธีการป้องกันแบบคนต่อคนได้ดีแล้ว  สามารถนำไปใช้ในการป้องกันแบบตั้งป้อมหรือแบบอื่นได้ดี  มีความก้าวหน้าในทักษะส่วนบุคคลและสมรรถภาพทางกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนในแง่ของเกมการแข่งขัน  สภาพการณ์ที่น่านำไปใช้ในการป้องกันแบบนี้  คือ  ผู้ฝึกจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายตรงข้ามมีทักษะส่วนบุคคลด้อยกว่าฝ่ายเราหรือเปล่า  ถ้าด้อยกว่าและกำลังไม่ดีควรใช้การป้องกันแบบนี้

เมื่อฝ่ายรุกถูกฝ่ายป้องกันจับคุมแบบคนต่อคน  กลวิธีในการแก้ของฝ่ายรุก  คือ  การใช้การบัง  (screen)  เพื่อทำให้ฝ่ายป้องกันเกิดการสับสนและฝ่ายป้องกัน ๆ  1  ต่อ  2  จึงทำให้ฝ่ายรุกเกิดการว่างไม่มีคนจับโดยเฉพาะขึ้น  เมื่อเป็นลักษณะเช่นนี้ฝ่ายป้องกันจะต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้เกิดในลักษณะเช่นนั้นได้  คือจะต้องพยายามติดตามคู่ของตนให้ได้  และไม่ควรเปลี่ยนคู่ป้องกันโดยไม่จำเป็น

เมื่อฝ่ายรุกทำการบัง  (Screen)  ฝ่ายป้องกันมีวิธีการป้องกันดังนี้

วิธีที่  1  การสไลด์ไปด้านข้าง  (sliding)

 

รูปที่  10 – 5  (ก,  ข)  ขณะที่  ‚  ไปทำบัง    ซึ่งมี    ติดตามไปด้วยนั้น  ขณะที่  ƒ  จะเคลื่อนมารับลูกบอลจาก    นั้น  ให้    ก้าวถอยหลังไปเล็กน้อย  เพื่อให้มีช่องทางที่    จะสไลด์ติดตาม  ƒ  ไปได้

 

วิธีที่  2  การต่อสู้ขึ้นเหนือผู้ที่ทำการบัง  (Fight on the Top of the Screen)

 

รูปที่  10 – 6  (ก,  ข)  เมื่อ  ƒ  ถูกการบังก็พยายามก้าวเท้าด้านที่ถูกกำบังให้ยาวเฉียงขึ้นเหนือผู้ที่ทำบังอยู่  และติดตามคู่ให้ทัน

 

วิธีที่  3  การเปลี่ยนคู่ป้องกัน  (Switching)

วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้ายที่ไม่อาจจะสไลด์หรือขึ้นเหนือผู้ที่ทำบังไปได้  ถ้าไม่จำเป็นแล้วอย่าเปลี่ยน  เพราะจะทำให้เกิดปัญหาในการป้องกันระหว่างคู่ฝ่ายรุกฝ่ายป้องกันไม่สมดุลกัน  ทำให้คนตัวเตี้ยป้องกันคนสูงได้

 

แทนที่    จะติดตามป้องกัน  ƒ  เปลี่ยนให้    เป็นผู้ป้องกันเสีย  ปัญหาที่มักเกิดขึ้น  คือ    และ    ไม่ค่อยจะรู้กันว่าจะเปลี่ยนเมื่อไหร่  วิธีแก้ไข  คือ  ให้    เป็นผู้บอกให้    เปลี่ยนโดยใช้คำว่า  “เปลี่ยน”  ดัง ๆ  ให้รู้กัน

 

หัวข้อที่ควรยึดถือในการป้องกันแบบคนต่อคน

  1. ดูทั้งลุกบอลและดูทั้งคน  (คู่ต่อสู้)
  2. พร้อมเสมอที่จะตัดเอาลูกบอลจากคู่ต่อสู้
  3. วิ่งตามคู่ต่อสู้ไปทุกหนทุกแห่ง
  4. เมื่อลูกบอลเคลื่อนไปทางใดตาจะต้องมองชำเลืองดูลูกบอลเสมอ  และพยายามบีบคู่ต่อสู้ให้ออกนอกระยะการยิงประตู  หรือบังคับให้คู่ต่อสู้ส่งลูกบอลให้เร็ว
  5. บังคับให้ฝ่ายรุกส่งลูกบอลนอกหัวกะโหลก  อย่าปล่อยให้คู่ต่อสู้บุกทะลวงเข้าในเขตโดยโทษได้
  6. ถ้ากลางศูนย์อยู่ใต้ห่วงประตู  ผู้ป้องกันต้องอยู่หน้า  (ดังรูปที่  10 – 7)

 

  1. ตามกลางศูนย์ไปทุกแห่ง  และระวังการหลอกล่อ
  2. พยายามป้องกันอย่างใกล้ชิดอย่าให้คู่ต่อสู้ส่งลูกบอลให้กลางศูนย์ได้
  3. ท่าป้องกันกลางศูนย์  คือ  ให้ยกมือขึ้นคอยหาจังหวะดึงลูกบอลมาครอบครองอย่าให้กลางศูนย์ขึ้นยิงประตูได้
  4. ระวังการบังของคู่ต่อสู้  ถ้ามีการบังจะต้องมีการเปลี่ยนการป้องกันทันที  คนอยู่หลังเป็นคนบอก  “เปลี่ยน”
  5. อย่าให้คู่ต่อสู้ตั้งยิงประตูได้  เมื่อคู่ต่อสู้เลี้ยงลูกบอลแล้วต้องเข้าชิดตัวคู่ต่อสู้ทันที
  6. เมื่อคู่ต่อสู้ยิงประตูแล้วต้องคอยเตือนให้ฝ่ายเราสกัดกั้น  (block)  คู่ต่อสู้เอาไว้  เมื่อฝ่ายเราได้ลูกบอลให้รีบส่งออกทันที
  7. ป้องกันคู่ต่อสู้เอาไว้จนกว่าฝ่ายเราได้ผลประโยชน์
  8. เมื่อมีการเปลี่ยนตัว  ผู้ถูกเปลี่ยนตัวต้องแจ้งหมายเลขที่ตนป้องกันอยู่ให้ผู้เข้ามาใหม่ทราบ
  9. เมื่อฝ่ายคู่ต่อสู้เปลี่ยนตัวเข้ามาใหม่  ต้องเรียกพวกเรารวมทั้งกลางศูนย์  ว่าใครจะป้องกันใคร  เพราะเดี๋ยวอาจเกิดการสับสนสองคนป้องกันคนเดียวได้
  10. อย่าเดาสุ่มว่าป้องกันคนนั้นคนนี้  หรือเป็นบุคคลสองจิตสองใจ
  11. อย่าปัดลูก  เพราะการปัดเป็นการไม่แน่นอน  การป้องกันที่ดีซึ่ง  กร.เจมส์ เอ ไนสมิธ  ได้กล่าวไว้  “ต้องติดชิดแน่นคู่ต่อสู้เหมือนกับกาว”

 

  1. การป้องกันแบบตั้งป้อมรับหรือเป็นเขต  (Zone Defense)

การป้องกันแบบตั้งป้อมรับ  หมายถึง  ผู้เล่นฝ่ายรับถูกมอบหมายให้รักษาในเขตที่กำหนดให้หน้าห่วงประตูเป็นส่วน ๆ  ดังรูปที่  10 – 8  และ  10 – 9  เมื่อคู่ต่อสู้เข้ามาในเขตเฉพาะตน  ผู้ที่ถูกมอบหมายต้องพยายามต่อต้าน  จนกระทั่วให้ฝ่ายรุกพ้นเขตของตนไป  เหมาะกับฝ่ายรุกที่ยิงประตูด้านนอกไม่แม่นยำ  การแย่งลูกบอลหลังจากการยิงประตูไม่ดี  และฝ่ายรับมีรูปร่างสูง  แย่งลูกบอลจากการยิงประตูได้ดี  แต่กำลังหรือความสามารถส่วนบุคคลอาจเป็นรองฝ่ายรุก

 

รูปแบบของการตั้งป้องกัน

การป้องกันแบบตั้งป้อมรับมีหลายแบบดังนี้

2.1  แบบ  2 – 1 – 2

2.2  แบบ  2 – 3

2.3  แบบ  3 – 2

2.4  แบบ  1 – 2 – 2

2.5  แบบ  1 – 3 – 1

2.6  แบบ  2 – 2 – 1

 

2.1  แบบ  2 – 1 – 2

รูป  10 – 10  แสดง  ตำแหน่งของฝ่ายป้องกันตั้งป้อมรับ  เมื่อลูกบอลอยู่ที่  ‚  เมื่อ  ‚  ส่งลูกไปที่  …  ผู้ตั้งป้อมรับจะเคลื่อนที่ไปตามลูกศร  เป็นลักษณะเคลื่อนเขตป้องกัน  (ดังรูปที่  10 – 10)

 

การรับผิดชอบโดยการเคลื่อนที่  แบบ  2 – 1 – 2  ถ้า  …  ส่งลูกไปให้  ƒ  ที่เส้นหลัง    ต้องเคลื่อนที่ไปหา  ƒ     สไลด์เข้าช่องกลางไปด้านขวา    และ    จะเคลื่อนที่ไปแทน    และ    เข้าไปป้องกัน  (ดังรูปที่  10 – 11)

แบบ  2 – 1 – 2  ถ้า    ส่งลูกไปให้  „  ผู้ป้องกันเบอร์    จะต้องเข้าป้องกัน  „  ในขณะเดียวกันผู้เล่นป้องกันเบอร์    และ    จะเคลื่อนที่เข้าป้องกันได้ห่วงไม่ให้  „  ส่งลูกให้  …  ส่วนผู้ป้องกัน    และ    จะถอยไปป้องกัน  ‚  และ  ƒ  ซึ่งเป็นคู่ของตน  (ดังรูปที่  10 – 12)

 

                        2.2  แบบ  2 – 3

การเคลื่อนที่ของการตั้งป้อมรับแบบ  2 – 3  มีลักษณะการรับผิดชอบในการป้องกันเหมือนกันกับการเคลื่อนที่แบบ  2 – 1 – 2  ดังรูปที่  10 – 13  และรูปที่  10 – 14  และ  10 – 15  แสดงการเคลื่อนที่ขณะที่มีการเล่นหนักทางขวา

 

                        2.3  แบบ  3 – 2

ตำแหน่งในการยืนป้องกันแบบ  3 – 2  ดังรูปที่  10 – 16

 

                        2.4  แบบ  1 – 2 – 2

ตำแหน่งในการเคลื่อนที่  เพื่อการป้องกันแบบ  1 – 2 – 2  ซึ่งมีวิธีการคล้ายคลึงแบบ  3 – 2  แต่ตัวกลางคือ    จะขึ้นสูงและคอยส่ายไปมา  ตามการเคลื่อนที่ของลูกบอล  ดังรูปที่  10 – 17

 

                        2.5  แบบ  1 – 3 – 1

ตำแหน่งการเคลื่อนที่แบบ  1 – 3 – 1  ดังรูปที่  10 – 18  และรูปที่  10 – 19  แสดงการเคลื่อนที่  ขณะที่ผู้ป้องกันเบอร์    ครอบครองเนื้อที่ตรงเส้นหลังจากใต้ห่วงประตูมุมขวา  วิธีการสลับตำแหน่งเพื่อครอบครองพื้นที่บริเวณเส้นหลัง

  1. การป้องกันแบบผสม (Combination Defenses)

การป้องกันแบบผสมนี้  คือการผสมผสานการป้องกันแบบคนต่อคนและแบบตั้งป้อมรับเข้าด้วยกัน  เนื่องจากเหตุการณ์ของการเล่นเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด  ไม่มีใครคาดฝันล่วงหน้าได้ว่าฝ่ายรุกจะดำเนินกลยุทธ์แบบใด  ดังนั้นฝ่ายรับจึงต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการคุมคนที่กำลังครอบครองลูกบอลไว้  เพื่อชะลอเวลาให้ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันมาตั้งรับทัน  และอีกประการหนึ่งใช้เป็นแบบของการป้องกันที่ฝ่ายรุกมีตัวเด่น  1  หรือ  2  คน  ที่มีความสามารถสูง  เปิดเกมการเล่นดีและยิงประตูในระยะไกลได้แม่นยำ  เพื่อไม่ให้ได้เล่นลูกบอลได้สะดวก

การป้องกันแบบผสม  แบ่งออกเป็น  2 วิธี  คือ

  1. แบบรูปคอก  โดยมีผู้เล่นตัวต่อตัว  1  คน  (The Box and One)
  2. แบบรูปสามเหลี่ยม  โดยมีผู้เล่นตัวต่อตัว  2  คน  (The Triangle and Two)

 

  1. แบบรูปคอก  โดยมีผู้เล่นตัวต่อตัว  1  คน  มีตำแหน่งพื้นฐานดังนี้

ผู้ป้องกัน    และ    จะยืนป้องกันบริเวณหัวกะโหลก  ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกัน  ส่วนผู้ป้องกัน    และ    จะยืนป้องกันหลังประมาณจุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษกับห่วงประตูคนละข้าง  ส่วน    จะเป็นผู้ป้องกันตัวต่อตัวกับผู้เล่นหมายเลข  5  ซึ่งมักเป็นตัวเปิดเกมการเล่นได้ดี  หรือยิงประตูในระยะไกลได้แม่นยำ

 

 

แสดงการเคลื่อนที่เพื่อรับผิดชอบในการป้องกันร่วมกันของการเล่นแบบตั้งป้อมรับรูปคอก  4  คน  และมีผู้เล่น  1  คน  ป้องกันแบบตัวต่อตัว

 

  1. แบบรูปสามเหลี่ยม  โดยมีผู้เล่นตัวต่อตัว  2  คน 

รูปที่  10 – 22  แสดงการตั้งป้อมรับ  3  คน  เป็นลักษณะรูปสามเหลี่ยม  และผู้เล่น  2  คนป้องกันแบบตัวต่อตัว  โดย    ,    และ    เป็นผู้ตั้งป้อมรับและมี    และ    ป้องกันแบบตัวต่อตัว  การรับผิดชอบและการเคลื่อนไหวของการเล่นแบบนี้  ได้แสดงไว้แล้วโดยผู้เล่นฝ่ายรุก  …  ส่งลูกบอลให้  ‚  ผู้ป้องกัน     ,    และ    จะต้องเคลื่อนที่ไปตามลูกศรชี้

 

การป้องกันแบบนี้เหมาะสำหรับทีมฝ่ายรุกที่มีผู้เล่นยิงประตูได้แม่นยำสองคน  หรือเป็นผู้ที่เปิดเกมการเล่นได้ดี

 

  1. การป้องกันแบบบีบคั้นหรือบีบบังคับ  (Pressing Defenses)

การป้องกันแบบบีบคั้น  หมายถึง  การป้องกันคู่ต่อสู้ตั้งแต่เริ่มส่งลูกบอลเต็มสนามหรือครึ่งสนาม  การป้องกันแบบนี้มักใช้กับทีมที่มีคะแนนตามคู่ต่อสู้และกำลังจะหมดเวลาแข่งขัน  วัตถุประสงค์  คือ  เพื่อบังคับให้คู่ต่อสู้ส่งลูกเสีย  ก่อกวนให้คู่ต่อสู้ประสาทเสีย  บังคับไม่ให้คู่ต่อสู้ถ่วงเวลา  หรือบังคับคู่ต่อสู้ไม่ให้เป็นอิสระ  ก่อกวนให้คู่ต่อสู้ขาดความเชื่อมั่น  เมื่อคู่ต่อสู้มีคะแนนนำในเวลาที่เหลือเพียงเล็กน้อย  เพื่อการเสี่ยงเอาชนะคู่ต่อสู้และสำรวจความแข็งแร่งของคู่ต่อสู้ว่ามีมากน้อยเพียงใด

 

พื้นที่แห่งความตายของฝ่ายรุก

ในการป้องกันแบบบีบบังคับหรือเร่งเร้านี้  ผู้เล่นฝ่ายรับจะต้องทำความเข้าใจถึงพื้นที่ที่เมื่อฝ่ายรุกเลี้ยงลูกบอลเข้ามาอยู่ในบริเวณที่แสดงไว้ในรูปที่  10 – 23  แล้วจะส่งลูกบอลได้ยากลำบากมาก  พื้นที่นี้เราอาจเรียกได้ว่า  “พื้นที่แห่งความตาย”  ซึ่งผู้เล่นฝ่ายรับควรจะรีบฉวยโอกาสเข้าสกัดกั้นปิดทิศทางในการส่งลูกทันที  โดยใช้วิธีการป้องกันชนิดประชิดตัวหรือที่เรียกว่า  หักสองทบทันที

 

  1.   พื้นที่หมายเลข  1  และ  3  เป็นพื้นที่แห่งความตายของฝ่ายรุกที่อันตรายที่สุด  เพราะจะมีโอกาส่งลูกออกไปได้  2  ทิศทางเท่านั้น  ทั้งนี้เพราะมีเส้นหลังและเส้นข้างสกัดอยู่  ดังนั้นฝ่ายรับจึงต้องพยายามต้อนให้ผู้เลี้ยงลูกบอลให้เข้ามายังบริเวณนี้ให้ได้  แล้ว  2  คนช่วยสกัดกั้นทันที  ก็จะทำให้ฝ่ายรุกไม่สามารถส่งลูกบอลไปได้  ถ้าภายใน  5  วินาทีไม่สามารถส่งลูกบอลออกไปได้  กรรมการจะขานเป็นลูกยึดทันที
  2.   พื้นที่หมายเลข  2  คล้ายกับพื้นที่หมายเลข  1  และ  3  แต่มีเส้นข้างและเส้นกึ่งกลางสนามสกัดอยู่  ตามกติกาการเล่นเมื่อฝ่ายรุกนำลูกบอลขึ้นมาแดนหน้าแล้วจะส่งลูกบอลกลับไปแดนหลังอีกไม่ได้  ฉะนั้นทิศทางในการส่งลูกบอลมี  2  ทิศทางเช่นเดียวกัน  ดังนั้นการสกัดกั้นจึงใช้  2  คน

การที่จะใช้วิธีการสกัดกั้นแบบประชิดตัวในพื้นที่แห่งความตายได้ดีนั้น  ผู้เล่นฝ่ายรับจะต้องรู้หน้าที่และทิศทางในการเปลี่ยนตำแหน่งให้ดี  และฉวยโอกาสในทันทีอย่างมั่นคงจึงจะได้ผล  มิฉะนั้นแล้วถ้าหากว่าผู้ที่ถูกสกัดกั้นสามารถส่งลูกบอลออกมาได้  จะทำให้ฝ่ายรับเสียเปรียบ  ฝ่ายรับต้องรีบคุมฝ่ายรุกที่ว่างอยู่ทันที  มิฉะนั้นจะเสียประตูได้อย่างง่ายดาย

 

ประเภทของการป้องกันแบบบีบคั้น

  1.   การป้องกันแบบคนต่อคนเต็มสนาม

การป้องกันบีบคั้นเต็มสนามนี้  เริ่มตั้งแต่ฝ่ายตรงข้ามได้ครอบครองลูกบอลหลังจากเสียประตู  หรือส่งเริ่มเล่นจากแดนหลัง  ดังรูปที่  10 – 24  แสดงตำแหน่งการเล่นเต็มสนาม  ™  ฝ่ายรุก    ฝ่ายรับ

 

  1.   การป้องกันแบบคนต่อคนภายในสามส่วนของสนาม

รูปที่  10 – 25  แสดงการป้องกันแบบคนต่อคนภายในสามส่วนของสนาม  มีการเปลี่ยนตำแหน่งกัน  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เลี้ยงลูกบอลมาที่มุมปิด  (มุมแห่งความตาย)  เริ่มจากขณะที่    เลี้ยงลูกบอลและมี    เป็นผู้ป้องกัน    จะรีบวิ่งมาดักหน้าผู้เลี้ยงลุก  เพื่อต้อนเข้ามุม  ส่วน    ต้องรีบวิ่งไปป้องกัน  ‚  และ    ให้วิ่งขึ้นดัก  ช่วย    ,    คุมเชิง  ƒ  ไว้  โดยมี    เคลื่อนตัวเข้าไปในเขตโทษเล็กน้อย

 

  1.   การตั้งป้อมรับที่บีบคั้นเต็มสนาม  (Zone Presses)  การตั้งป้อมรับที่บีบคั้นหรือเร่งเร้าเต็มสนามนี้  มี  4  แบบ  คือ

3.1  แบบ  1 – 2 – 2

3.2  แบบ  2 – 2 – 1

3.3  แบบ  2 – 1 – 2

3.4  แบบ  1 – 3 – 1

 

3.1  แบบบีบบังคับ  1 – 2 – 1  เต็มสนาม

 

รูปที่  10 – 26  แสดงตำแหน่งการตั้งรับแบบ  1 – 2 – 2  ด้วยวิธีการบีบบังคับเต็มสนาม

 

3.2  แบบบีบบังคับ  2 – 2 – 1  เต็มสนาม

 

รูปที่  10 – 27  แสดงการเล่นแบบตั้งรับแบบบีบบังคับด้วย  2 – 2 – 1  เต็มสนาม  เริ่มด้วย    บังคับให้  ‚  เลี้ยงลูกบอลออกไปทางเส้นข้าง  เพื่อที่ให้    ถูกบีบบังคับให้หยุดเลี้ยงโดยมี    ,    สกัดกั้นชนิดให้    สกัดกั้นแบบพับสองทบ  ในขณะเดียวกัน    จะเคลื่อนที่มาคุมเบอร์  „  และ    เคลื่อนมา  ณ  จุดที่จะสามารถตัดลูกส่งได้

 

3.3  แบบบีบบังคับ  2 – 1 – 2  เต็มสนาม

 

รูปที่  10 – 28  แสดงการเล่นแบบตั้งป้อมรับแบบบีบบังคับ  2 – 1 – 2  เต็มสนาม  เริ่มด้วย    และ    ทำการสกัดกั้นแบบหักพับสองทบต่อผู้เลี้ยงลูกเบอร์  ‚  ในขณะเดียวกัน    จะเคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่สามารถจะตัดลูกส่งได้    และ    จะป้องกัน  „  และ  …  ซึ่งอยู่ในสภาพที่เตรียมพร้อมเช่นกัน

 

3.4  แบบบีบบังคับ  1 – 3 – 1  เต็มสนาม

 

รูปที่  10 – 29  แสดงการเล่นแบบ  1 – 3 – 1  บีบบังคับเต็มสนาม  เริ่มด้วย    และ    ทำการสกัดกั้นแบบหักสองทบกับผู้เลี้ยงลูกบอลคือ  ‚  ในขณะเดียวกันนั้นผู้ป้องกันคนอื่น ๆ  จะเคลื่อนที่ไปตามลูกศรชี้

 

 

 

 

การตั้งป้อมรรับแบบบีบคั้นครึ่งสนาม  (Half – Court Zone)

การตั้งป้อมรับแบบบีบคั้นครึ่งสนามนี้  วิธีการวางตำแหน่งและการเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อช่วยเหลือกันเหมือนกับการตั้งป้อมรับบีบบังคับเต็มสนาม  ผิดกันที่ว่าผู้ป้องกันมาตั้งรับภายในครึ่งสนามของตนเท่านั้น

 

ยุทธวิธีในการป้องกันแบบบีบคั้น

  1.   ต้องตั้งป้องกันแบบบีบคั้นให้เร็ว  เช่น  ใครคุมหมายเลขอะไร
  2.   การป้องกันแบบบีบคั้นที่ดีที่สุด  คือต้องกระทำพร้อมกันทั้ง  5  คน
  3.   ผู้เล่นที่ถูกทิ้งไว้เพื่อป้องกันการลักไก่  เมื่อฝ่ายตรงข้ามครอบครองลูกบอลต้องลงอย่างรวดเร็ว  มองที่ลูกบอลและพร้อมเสมอที่จะตัดลูกบอล
  4.   บังคับให้คู่ต่อสู้ส่งลูกเสียให้ได้  หรือยังคับให้คู่ต่อสู้ทำผิดกติกา
  5.   พยายามป้องกันให้ชิดตัวคู่ต่อสู้  และคอยรังควานอยู่เสมอ
  6.   คอย  “เปลี่ยน”  คู่ให้ดีเมื่อฝ่ายเราร้องให้เปลี่ยน
  7.   ระวังอย่าให้เกิดฝ่ายเราเองสองคนคุมคนเดียวได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้

7.1  คู่ต่อสู้เลี้ยงลูกบอล

7.2  เมื่อคู่ต่อสู้หมุนตัวเพื่อส่ง  โดยฝ่ายเราสองคนเข้าคุมหลัง  เพื่อจะเอาลูกกลับมาครอบครอง  หรือเมื่อคู่ต่อสู้เข้ามุม   หรือพยายามที่จะเจาะทะลวงเข้าทางเส้นหลัง

7.3  เมื่อคู่ต่อสู้เล่นวิธีหมุนเพื่อให้เกิด  2  คนป้องกันคนเดียว

  1.   ถ้าฝ่ายเราพลาดจากการป้องกันซึ่งอยู่ในประมาณหัวกะโหลก  ผู้เล่นฝ่ายรับที่ยืนอยู่ลึกใกล้ห่วงประตู  ต้องเปลี่ยนออกมาป้องกันทันที  เพื่อป้องกันการยิงประตู
  2.   ถ้าคู่ต่อสู้หลุดจากการควบคุม  ฝ่ายรับต้องรีบลงมายังเขตประตูของตนทันทีและจับคนที่อยู่ใกล้ตัวที่สุดไว้ก่อน
  3.   การป้องกันแบบบีบคั้นก็เปรียบเสมือนการพนัน  ซึ่งบางครั้งก็ได้บางครั้งก็เสีย  แต่อย่างไรก็ดี  ต้องรวดเร็วและตื่นตัวอยู่เสมอ  สายตาต้องชำเลืองหรือดูลูกบอลตลอดเวลา