รูปแบบของการรุก (OFFENSIVE PATTERNS)

earlyoffense

โดยทั่วไปแบบของการรุกพอแยกได้เป็น  2  แบบ  คือ  การรุกช้า  (slow or deliberate attack)  และการรุกเร็วหรือลักไก่  (fast break attack)  การรุกช้าในในโอกาสที่ฝ่ายรุกมีรูปร่างใหญ่และเคลื่อนไหวช้ากว่า  นอกจากนั้นยังใช้ในโอกาสที่ใกล้จะหมดเวลาการแข่งขันซึ่งทีมรุกมีคะแนนนำ  ส่วนการรุกเร็วหรือลักไก่ใช้ในโอกาสที่ผู้เล่นมีความสามารถเฉพาะตัวดี  และสามารถนำลูกบอลไปแดนหน้าได้อย่างรวดเร็ว  วิ่งเร็วและมีกำลังดี

  1. รูปแบบของการรุกช้า  (Slow Attack)

ก.  การรุกโดยตัวหนุนเดี่ยว  (The Single Pivot Offense)

การรุกโดยตัวหมุนเดี่ยว  เป็นที่นิยมเล่นกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน  ผู้เล่นที่เล่นเป็นตัวหมุนจะทำหน้าที่บังฝ่ายรุก  ป้อนลูกให้ฝ่ายเดียวกันขึ้นทำประตูเอง  และที่สำคัญ  คือ  การเข้าแย่งลูกบอลหลังจากการยิงประตู  ตำแหน่งการยืนของผู้เล่นตัวหมุนเดี่ยวมี  3  ตำแหน่ง  คือ  ยืนสูง  (high post)  ยืนต่ำ  (low post)  และยืนสูงปานกลาง  (medium high post)  (ดังรูปที่  9 – 1)  ตำแหน่งการยืนนิยมเล่นกันมาก  คือ  การยืนสูงปานกลาง  ซึ่งจะยืนระหว่างเส้นโยนโทษกับแนวห่วงประตูด้านนอกเส้นยืนโทษ  ทั้งนี้เพราะจุดนี้ผู้เล่นตัวหมุนสามารถส่งลูกให้เพื่อร่วมทีมและขึ้นยิงประตูเองได้ดี  ส่วนตำแหน่งการยืนของผู้เล่นทั้งทีมมีดังนี้  (ดังรูปที่  9 – 2)  1  และ  2  เป็นการ์ด,  2  และ  5  เป็นผู้เล่นตัวหมุนเดี่ยว  3  และ  4  เป็นผู้เล่นหน้า  (ปีก) 1,  2  และมีวิธีการเล่นที่เป็นพื้นฐานง่าย ๆ  ดังนี้  1  ส่งลูกบอลให้  3  วิ่งตัดผ่านด้านนอก  3,  5  ซึ่งเป็นผู้เล่นตัวหมุนเดี่ยวกำลัง  (screen)  คู่ต่อสู้ของ  4,  แล้ว  4  วิ่งเปลี่ยนทิศทางตัดเข้าในเพื่อรับลูกบอลจาก  3

 

ตัวอย่างแผนการรุกโดยตัวหมุนเดี่ยว  (Single Pivot Play)

แผนการเล่นที่  1  การวิ่งตัดอ้อมหลัก  (A Shlet the Post)  เมื่อผู้เล่นกลางศูนย์  (center)  ยืนอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นโยนโทษ  เริ่มต้นโดย  1  ส่งลูกบอลให้  5  1  และ  2  วิ่งตัดกันผ่านผู้เล่นกลางศูนย์ไปทางด้านข้าง  โดยให้  1 เป็นผู้วิ่งตัดก่อน   5  จะส่งลูกบอลให้กับผู้เล่นที่ว่างจากการสกัดกั้น  โดยปกติแล้วมักจะเป็น  2  ส่วนผู้เล่น  3,  4  จะต้องรีบเคลื่อนที่ออกมาทำหน้าที่ผู้ป้องกันหลัง  (guard)  แทน  1  และ  2  เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเมื่อตกเป็นฝ่ายรับ

 

แผนการเล่นที่  2  การเล่นที่เปลี่ยนแปลงไปจากแผนการเล่นที่  1  คือ  2  ส่งลูกบอลให้  4  แล้ววิ่งไปบัง  (screen)  ให้  1  วิ่งตัดผ่านผู้เล่นกลางศูนย์ไป  ถ้า  1  ว่างจากการสกัดกั้น  4  จะส่งลูกบอลให้เพื่อขึ้นยิงประตู  ภายหลังจากการบังแล้ว  1  จะวิ่งตัดกลับ  (cut back)  มาข้างหน้าผ่านกลางศูนย์ไปยัง  4  เพื่อรับลูกบอล  เมื่อ  1  ถูกสกัดกั้น  และ  4  ส่งลูกให้  1  ไม่ได้  การวิ่งตัดกลับนี้จะได้ผลดีเมื่อฝ่ายรับใช้วิธีป้องกันแบบคนต่อคน  (man for man defense)

 

แผนการเล่นที่  3  การเล่นที่เปลี่ยนแปลงจากแผนการเล่นที่  2  คือ  1  ส่งลูกบอลให้  5   4  วิ่งตัดไปทางเส้นหลัง  (endline)  1  และ  2  วิ่งอ้อมหลักผ่าน  5  (กลางศูนย์)  ถ้า  2  ถูกสกัดกั้นให้  5  ส่งลูกบอลให้  4  ซึ่งวิ่งหักกลับเข้ามารับลูกบอลโดยมี  1  เป็นผู้ทำการบังให้

 

แผนการเล่นที่  4  เป็นวิธีการเล่นที่ง่าย ๆ  แต่ใช้ได้ผลดี  เมื่อ  1  ส่งลูกบอลให้  5  แล้ว  1  และ  2  หลอกทำท่าจะวิ่งอ้อมผ่าน  5  ให้  4  วิ่งตัดเข้าในและรับลูกจาก  5  ขึ้นยิงประตู  จะใช้ได้ดีเมื่อการ์ด  (guard)  ของฝ่ายป้องกันหันหน้ามาดูลูกบอลและเผลอไม่ทันป้องกันเบอร์  4

 

     แผนการเล่นที่  5  2  เลี้ยงลูกบอลไปยืนส่งให้  1,  1  ส่วนต่อให้  4  ซึ่งวิ่งมาพบกับ  5  ที่กำลังเคลื่อนมาอยู่ที่ข้าง ๆ  5,  4  วิ่งตัดแล้วเคลื่อนที่เข้าบังให้  1,  1  รับลูกจาก  5  เพื่อขึ้นยิงประตู  2  และ  3  เปลี่ยนทิศทาง  เพื่อทำให้เกิดช่องว่างในการป้องกัน

 

แผนการเล่นที่  6  2  ส่งลูกบอลให้  4  แล้ววิ่งตัดออกข้างไปสู่มุม  4  ส่งลูกบอลให้  2  ซึ่งจะเป็นผู้ป้อนลูก  (feed)  ให้  5  ที่กำลังเคลื่อนที่จาก  high post  มาสู่  medium high post  2  และ  4  วิ่งตัดกันอ้อม  5,  5  จะเป็นผู้ส่งลูกให้กับผู้วิ่งอ้อมที่ว่างจากการคุม  ปกติได้แก่  4  และพร้อมกันนั้น  1  และ  3  จะเปลี่ยนตำแหน่งกัน  เพื่อก่อกวนทำให้เกิดช่องว่างในการป้องกัน

 

แผนการเล่นที่  7  ในขณะที่  2  ส่งลูกให้  4,  5  วิ่งหนีออกห่างจากลูกบอลไปทางตำแหน่ง  low post  2  วิ่งไปบังให้  1  วิ่งตัด  ขณะเดียวกันนั้น  4  เลี้ยงลูกบอลกลับไปเส้นโยนโทษ  1  วิ่งตัดออกจากการคู่ที่  2  บังให้  และรับบอลจากการยื่นส่งให้ของ  4  และเลี้ยงขึ้นยิงประตูทันที

 

แผนการเล่นที่  8  เรียกว่า  “Second guard around play”  คือ  2  ส่งลูกบอลให้  4  แล้ววิ่งตัดออกข้างเพื่อรับลูกส่งกลับ  2  จะพยายามเลี้ยงรุกเข้าไปยิงประตู  แต่ถ้าเขาไม่สามารถไปได้ตลอดเขาจะหมุนตัวและป้อนลูกให้  1  ซึ่งวิ่งตัดผ่านการบังของ  4,  5  จะวิ่งแยกห่างจากลูกบอลไปทาง  low post

 

แผนการเล่นที่  9  แบบการเล่นง่าย ๆ  อีกวิธีหนึ่ง  เล่นติดต่อกันกับแผนการเล่นที่  10  คือ  ให้  2  ส่งลูกบอลให้  4  แล้ววิ่งตัดอ้อมหลัง  4  ไปทางมุมขวา  5  ทำบังให้  3  วิ่งตัดเข้าไปในเขตประตู  ในขณะเดียวกัน  1  วิ่งมาที่ส่วนยอดของวงกลม  ถ้า  3  ว่าง  4  จะป้อนให้ยิงประตู

 

แผนการเล่นที่  10  ต่อเนื่องจากแผนการเล่นที่  9  ถ้า  3  ไม่ว่าง  4  จะส่งลูกให้  1  ที่อยู่สุดยอดของวงกลม  ซึ่งจะส่งต่อไปให้  5  แล้ววิ่งตัดออกไปมุมด้านซ้ายมือของภาพนี้  3  ทำบังให้  4  วิ่งตัดเข้าในเพื่อยิงประตู  ขณะเดียวกับที่  2  วิ่งออกมาที่สุดยอดของวงกลม  3  ป้อนให้  4  ถ้าเขาว่าง

 

ข.  การรุกโดยตัวหมุนคู่  (Double Pivot Offense)

การรุกโดยตัวหมุนคู่  เหมาะสำหรับทีมที่มีผู้เล่นสูงสองคนและมีทักษะในการหมุนดี  การยืนอาจจะยืนต่ำ  หรือสูง  หรือยืนแบบสูงหนึ่งคนต่ำหนึ่งคนก็ได้  แต่โดยปกติจะยืนคนละข้างของเส้นยืนโทษ  แล้วเคลื่อนที่จากเส้นสกัดหลังไปที่เส้นโยนโทษ  และเปลี่ยนข้างเมื่อผู้เล่นอื่นมาทำบังให้  มีหน้าที่เฉพาะ  คือ  พยายามยิงประตูในบริเวณเขตประตู  และเข้าแย่งลูกบอลหลังจากยิงประตู

 

ตัวอย่างแผนการรุกโดยตัวหมุนคู่

     แผนการเล่นที่  1  ให้  2  ส่งลูกบอลให้  5  ซึ่งวิ่งออกมาพบกับการส่ง  2  และ  3  วิ่งสวนกันอ้อม  5  โดย  2  วิ่งอ้อมก่อน  ในขณะเดียวกัน  5  จะป้อนลูกให้  3,  4  ทำบังให้  1  ซึ่งวิ่งตัดเข้าสู่ห่วงประตู  3  อาจจะยิงประตูเองหรืออาจจะส่งให้  2  หรือ  1  ก็ได้  4  ต้องทำหน้าที่ผู้ป้องกันหลังแทนผู้ที่วิ่งตัดเข้าในเมื่อตกเป็นฝ่ายรับ

 

แผนการเล่นที่  2   2  เลี้ยงลูกบอลไปยืนส่งให้  3  แล้วเคลื่อนตัวไปทางมุมขวา  3  เลี้ยงลูกบอลตรงเข้ากลาง  แล้วส่งกลับมาให้  2  ในขณะที่การส่งดำเนินอยู่  5  จะทำบังให้  4  วิ่งตัดเข้าหาลูกบอล  2  ป้อนลูกให้  4  ซึ่งวิ่งมาพบกับ  3  ในลักษณะการวิ่งอ้อมหลัก

 

แผนการเล่นที่  3   3  ส่งลูกบอลให้  2  และวิ่งตัดเขตประตูผ่านหน้า  5  ไปยังฝั่งตรงข้าม  5  วิ่งตัดเข้าหาลูกบอลและรับลูกบอลจาก  2  ภายหลังที่ทำการส่ง  2  วิ่งตัดออกไปทางด้านขวาของ  5,  5  อาจจะส่งลูกบอลให้  2  หรืออาจจะหลอกว่าจะส่งแล้วรุกเข้ากลาง  หรืออาจส่งให้  4  ซึ่งกำลังวิ่งตัดผ่านการบังของ  3  ก็ได้  แล้วแต่กรณี

 

แผนการเล่นที่  4   3  ส่งลูกบอลให้  5  แล้วบังให้  2,  5  เลี้ยงลูกบอลเข้าหาเส้นโทษแล้วทำการบังคู่กับ  3  ให้  2  วิ่งผ่านด้านนอก  เมื่อ  2  รับลูกบอลจากการส่งของ  5  แล้วรุกเข้าใต้ห่วงประตู  แต่ถูกสกัดกั้น  ก็อาจจะส่งให้  4  ซึ่งกำลังวิ่งมาโดยการทำบังคู่ของ  5  และ  3

 

แผนการเล่นที่  5   2  ส่งลูกให้  3  และทำการบังให้  1,  3  เลี้ยงลูกบอลรุกเข้าไปทางเส้นโยนโทษแล้วทำการบังคู่ให้กับ  1,  5  วิ่งดึงคนให้ที่เดิมว่างไปทางด้านตรงข้าม  1  รับลูกบอลส่งจาก  3  และเลี้ยงลูกบอลบุกเข้ายิงประตู

 

แผนการเล่นที่  6   1  เลี้ยงเอาตัวบังแล้วยื่นลูกบอลส่งให้  2 และวิ่งตัดเข้ากลางไป  2  เลี้ยงออกจากการบังของ  4  ถ้าฝ่ายป้องกันสามารถสกัดไว้ได้ให้เปลี่ยนมาส่งให้  4  ซึ่งกำลังหมุนตัวเข้ากลางเพื่อรับลูกและขึ้นยิงประตู

 

แผนการเล่นที่  7   2  ส่งลูกบอลให้  1  และวิ่งตัดไปที่มุมซ้ายเพื่อรอรับลูกส่งกลับจาก  1,  4  ทำการบังให้  5  ผู้วิ่งตัดเข้าหาลูกบอลโดยผ่านเข้ากลาง  ถ้าฝ่ายป้องกันสกัดกั้นได้  4  จะกลิ้งตัวออกมาที่ได้ห่วง  เพื่อรับลูกบอลจาก  2  ในขณะเดียวกัน  3  ยังคงทำหน้าที่ผู้ป้องกันคู่กับ  1  เมื่อตกเป็นฝ่ายรับ

 

ค.  การรุกโดยการยืนสูงหนึ่งคนและต่ำหนึ่งคน  (Tandem Post Offense)

การรุกโดยยืนสูงหนึ่งคนและต่ำหนึ่งคน  (high – low post)  บางทีเรียกว่าเป็นการรุกแบบ  1 – 3 – 1   ตำแหน่งการยืนของผู้เล่นหนึ่งคนยืนที่เส้นโยนโทษเรียกว่า  ยืนสูง  (high post)  และอีกคนจะยืนต่ำที่เส้นหลังเรียกว่า  ยืนต่ำ  (low post)  ผู้เล่นการ์ด  1  ยืนอยู่หลังเส้นโทษออกมาก  ซึ่งจะเป็นตัวคุมบอล  และผู้เล่นหน้า  (ปีก) 1, 2  ยืนอยู่ที่ด้านข้างของสนามในแนวเดียวกับเส้นโยนโทษ

 

 

ตัวอย่างแผนการรุกโดยการยืนสูง – ต่ำ

แผนการเล่นที่  1  การป้อนลูกอย่างง่าย ๆ  ให้แก่ผู้เล่นเป็นหลักอยู่ใกล้ห่วงประตู  เพื่อใช้การรุกแบบคนต่อคน  ด้วยการหมุนตัว  โดย  1  ส่งลูกบอลให้  3  ซึ่งจะป้อนลูกต่อให้  5,  5  พยายามที่จะทำประตู  ถ้าเขาไม่สามารถทำได้  อาจมีทางเลือกง่าย ๆ  โดยปล่อยให้  4  วิ่งตัดเข้ามาแล้วจึงส่งต่อให้  4  เพื่อขึ้นยิงประตู

 

แผนการเล่นที่  2 ก  1  ส่งลูกให้  3  แล้วหลอกจะวิ่งไปทางซ้าย  แล้วหักกลับวิ่งหนีห่างจากผู้ป้องกันของตนไปทางหมายเลข  4,  3  ส่งลูกบอลให้  1  ยิงประตู

 

แผนการเล่นที่  2 ข  ถ้า  1  ถูกสกัดกั้นในขณะที่เขาวิ่งตัดเข้ากลาง  4  สามารถวิ่งตัดอ้อมหลังไปเพื่อรับลูกส่งจาก  3  ขึ้นยิงประตูแทน  1  ได้อีกวิธีหนึ่ง

 

แผนการเล่นที่  2 ค  การเลือกอื่น ๆ  ที่เราสามารถนำไปใช้ได้  เช่น  ถ้า  1  ไม่ว่างในขณะที่เขาวิ่งตัดไป  ให้  1  วิ่งต่อไป  เพื่อบังให้  5  ซึ่งยืนอยู่ในตำแหน่งหลักตัวต่ำ  5  วิ่งเข้ารับลูกจาก  3  ที่ใต้ห่วงขึ้นยิงประตู

 

แผนการเล่นที่  3   1  เลี้ยงลูกเข้าไปหา  3  แล้วยื่นลูกให้  4  ทำการบังให้  5  ซึ่งวิ่งมากที่เส้นโยนโทษ  3 ส่งลูกต่อให้  5  ซึ่งจะยิงประตู  แต่ถ้ายิงประตูไม่ได้ให้ส่งไปให้  2  เพื่อยิงประตูที่มี  4  และ  1  บังให้

 

ง.  การรุกแบบวิ่งสลับที่กัน  (The Shuffle Offense)

การรุกแบบวิ่งสลับที่กัน  เพิ่งนิยมเล่นกันมาไม่กี่ปีนี้เอง  ซึ่งได้พัฒนาขึ้นโดย  บรูซ  ดร๊าก  (Bruce Drake)  ขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนบาสเกตบอลแห่งมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา  การรุกด้วยวิธีนี้จะต้องมีผู้เล่นที่มีความสูงไล่เลี่ยกัน  สามารถเล่นได้ทุกตำแหน่ง  มีทักษะการครอบครองลูกบอลและวิ่งตัดได้ดี  ลักษณะการรุกแบบนี้จะหนักไปข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วจึงเปลี่ยนไปรุกด้านตรงข้ามทันทีทันใดเมื่อมีโอกาส  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

รูป  1  แสดงถึงตำแหน่งการยืนเบื้องต้น

รูป  2  แสดงถึงรากฐานของการเล่น  ในขณะที่  2  ส่งให้  1,  3  จะวิ่งตัดออกจากการบังของ  5  (เป้นหทางเลือกทางแรก)  4  รอจนกระทั่ง  3  วิ่งตัดผ่าน  5  ไปแล้ว  จึงวิ่งตัดเข้ากลาง  เพื่อรับลูกยิงประตู  (ทางเลือกท่าสอง)  จากนั้น  2  ทำการบังให้  5  ซึ่งวิ่งตัดไปทีส่วนยอดของวงกลม  (ทางเลือกที่สาม)

รูป  3  แสดงถึงตำแหน่งการยืนที่เปลี่ยนไป

 

จ.  การรุกเมื่อฝ่ายป้องกันตั้งป้อมรับ  (Zone Offense)

การรุกเมื่อฝ่ายป้องกันตั้งป้อมรับ  เป็นเรื่องที่ผู้เล่นและผู้ฝึกจะต้องทำความเข้าใจให้ดี  เพราะในสถานการณ์การเล่นและการแข่งขันย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้ทุกขณะ  ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการแก้เกมของฝ่ายป้องกันที่จะพยายามป้องกันฝ่ายรุกไม่ให้ทำประตูได้โดยง่าย  ฝ่ายรุกมักจะพบอยู่เสมอว่าฝ่ายป้องกันที่มีรูปร่างสูงใหญ่  และเข้าแย่งลูกบอลหลังจากการยิงประตูได้ดี  มักจะใช้วิธีการป้องกันแบบตั้งป้อม  (zone defense)

การตั้งป้อมรับแต่ละแบบจะมีจุดอ่อนที่นักกีฬาและผู้ฝึกต้องเช้าใจอย่างถ่องแท้  เพราะจุดอ่อนของฝ่ายรับจะเป็นจุดเด่นของฝ่ายรุก       แสดงถึงบริเวณจุดอ่อนที่ฝ่ายรุกสามารถเข้าทำประตูดังนี้

 

หลักในการรุกเมื่อฝ่ายป้องกันตั้งป้อมรับ

  1. ต้องแน่ใจว่า  ฝ่ายป้องกันตั้งป้อมรับ  เราจึงเล่นแผนการรุกเมื่อฝ่ายป้องกันตั้งป้อมรับ
  2. พิจารณาให้แน่ว่าการตั้งป้อมรับของคู่ต่อสู้เป็นแบบใด  (3- 2,  1 – 3 – 1,  2 – 1 – 2,  2 – 3,  1 – 2 – 2,  2 – 2 – 1)
  3. มองหาจุดอ่อนของฝ่ายป้องกันว่าอยู่ตรงไหน
  4. วางจุดของผู้เล่นฝ่ายรุกตามรูปแบบของแผนการเล่นในลักษณะรูปสามเหลี่ยมเอาไว้  (ดังรูป)
  5. ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา  และพยายามสร้างสถานการณ์ให้ฝ่ายป้องกันสองคนป้องกันเราคนเดียว
  6. วิธีรุกเมื่อฝ่ายรับตั้งป้อมรับที่ดีที่สุดคือ  การเล่นเร็วหรือลักไก่  (fast break)  ก่อนที่ฝ่ายรับลงมาตั้งป้อมทัน
  7. พยายามส่งลูกบอลให้มาก ๆ  พยายามทำให้ฝ่ายป้องกันเสียขบวนให้ได้
  8. ต้องใจเย็นสุขุม  เมื่อขึ้นยิงประตูห้องแน่ใจว่าจะต้องได้ประตูอย่างแน่นอน  อย่าใจร้อนรีบด่วนยิงประตูเสียก่อนในระยะไกล

 

  1.   ตัวอย่างแผนการรุกแบบ  1 – 3 -1

 

1.1  แสดงตำแหน่งการยืนพื้นฐานแบบรุก 1 – 3 – 1

1.2  แสดงทิศทางของการส่งลูกบอลและทิศทางในการวิ่งเปลี่ยนตำแหน่ง   1  ส่งลูกบอลให้  3,  3  ส่งต่อให้  5  ซึ่งวิ่งตัดออกมาใต้ห่วงประตูแล้วขึ้นยิงประตู  2 หมุนกลับออกเพื่อคอยป้องกันเมื่อมีการส่งลูกบอลพลาด

 

1.3  และ  1.4  แสดงถึงทางเลือกที่สามารถพลิกแพลงเล่นได้

 

  1.   ตัวอย่างแผนการรุกแบบ  2 – 1 – 2

 

2.1  แสดงตำแหน่งการยืนพื้นฐานแบบ  2 – 1 – 2  (1, 2 การ์ด  3, 4 ปีก  และ  5 กลางศูนย์)

2.2  แสดงทิศทางในการส่งลูกบอล  และทิศทางการวิ่ง  1  ส่งลูกบอลให้  2,  2  ส่งต่อให้  4  ขณะเดียวกัน  5  วิ่งตัดเข้าในไปรับลูกส่งจาก  4 และขึ้นยิงประตู  และขณะที่  4  ส่งลูกบอลให้  5  นั้น  จะมี  3  วิ่งตัดเฉียงบนมาอยู่อีกข้างหนึ่งของเขตประตูด้วย  ถ้าไม่มีคนคุม  5  อาจส่งให้  3  ยิงประตูได้

 

2.3  ต่อเนื่องจากแผนการเล่นในข้อ  2.2  เมื่อ  2  ส่งลูกบอลให้  4  แล้ว  4  ไม่สามารถส่งต่อให้  5  ก็ให้ส่งคืน  2  มาใหม่  แล้ว  5,  4,  3  วิ่งตัดผ่าน

2.4  แสดงถึงตำแหน่งการยืนของฝ่ายป้องกัน  ยืนตั้งป้อมรับแบบ  3 – 2  และฝ่ายรุกยืนแบบ  2 – 1 – 2

 

ฉ.  การเล่นเร็วหรือลักไก่  (Fast Break)

การเล่นเร็ว  ถือว่าเป็นแบบของการรุกที่ดีประการหนึ่ง  เพราะมีบางทีมสามารถทำคะแนนได้จากการเล่นเร็วไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนทั้งหมด  แต่การเล่นนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม

องค์ประกอบที่สำคัญของการเล่นเร็ว  คือ  ความเร็ว  (Speed)  ซึ่งถือว่าสำคัญอันดับหนึ่ง  และการแย่งลูกบอลหลังจากการยิงประตูของฝ่ายรุก  แล้วฉวยโอกาสเล่นเร็วในทันทีทันใด  ก่อนที่ฝ่ายรับจะตั้งรับทัน

ขณะที่เล่นเร็วสนามจะถูกแบ่งออกเป็น  3  ส่วนเท่า ๆ  กัน  ตามแนวขนานกับเส้นข้างตั้งฉากกับเส้นหลัง

 

ตัวอย่างแผนการเล่นเร็ว  (Fast Break)

แผนการเล่นที่  1  (การ์ดได้ลูกจากการกระทบกระดานหลัง)

ดังรูปเป็นการเล่นเร็ว  ภายหลังจากการรับลูกระดอนจากกระดานหลัง  โดยการ์ด 1  เป็นผู้รับได้  ในขณะที่  1  รับลูกได้  5  และ  3  เริ่มวิ่งออกมาทางด้านข้างของสนามทางซ้าย  ส่วน  4  และ  2  จะวิ่งตัดแยก  เพื่ออยู่ในตำแหน่งที่รับลูกจาก  1,  1  ส่งลูกให้  4,  4  ส่งต่อให้  2,  2  เลี้ยงลูกบอลขึ้นไปในช่วงกลาง  (middle lane)  มุ่งเข้าสู่เส้นโยนโทษพร้อมกับ  4  และ  3  ส่วน  5  จะติดตามมาข้างหลัง  2  อาจจะส่งให้  3  หรือ  4  ก็ได้ตามแต่โอกาส  แต่ถ้าฝ่ายป้องกันติด  4  เขาจะส่งให้  2  ส่วน  1  จะคอยคุมอยู่หลังสุด  เผื่อฝ่ายป้องกันแย่งลูกบอล

แผนการเล่นที่  2  (กลางศูนย์แย่งลูกบอลได้)

ดังรูปเป็นการเล่นเร็วภายหลังจากการยิงประตู  โดยกลางศูนย์  (center)  เป็นผู้รับลูกบอลให้ปี  2  และ  4  วิ่งฉีกออกข้างสนามก่อน  แต่ในรูป  5  ส่งให้  4  ขณะเดียวกันนั้น  3,  2  และ  1  วิ่งไปข้างหน้าอย่างเร็ว  ให้  2  ตัดเข้ามารับลูกบอลในช่องกลาง  (middle land)  4  ส่งลูกบอลให้  2  แล้ววิ่งตามไป  2  เลี้ยงเข้าไปยังเส้นโยนโทษแล้วเลือกส่งให้  3  หรือ  1  ตามความเหมาะสม  ถ้าส่งไม่ได้อาจส่งให้  4  ซึ่งวิ่งตามหลังมา  ส่วน   5  คอยคุมอยู่หลัง

แผนการเล่นที่  3  (เมื่อปีกแย่งลูกบอลได้)

4  ได้ลูกบอลส่งให้  2  แล้ว  4  ขึ้นในตำแหน่งปีกขวา  5  ขึ้นเป็นตำแหน่งปีกซ้าย  2  เลี้ยงลูกบอลขึ้นใกล้เส้นโยนโทษ  แล้วส่งลูกบอลให้  5  หรือ  4  เข้ายิงประตู  ส่วน  3  และ  1  ขึ้นซ้อนหลัง